Sunday, October 10, 2010

"Female Viagra" ไวอากร้าสำหรับผู้หญิง

บริษัทยา Boehringer หยุดที่จะคิดค้นยาไวอากร้าสำหรับผู้หญิง

ผู้ผลิตยาชาวเยอรมันของบริษัท Boehringer Ingelheim ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (8 October 2010) ว่า พวกเขาหยุดที่จะคิดค้นยา เพื่อช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศในเพศหญิง หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามที่จะผลิตยา "Female Viagra" หรือยาไวอากร้าสำหรับผู้หญิงนั่นเอง

ยาตัวดังกล่าว ถูกค้นพบในฐานะที่เป็นยาออกฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้า มันผ่านการทดลองและทดสอบทางคลินิกมาหลายปี และถูกส่งไปตรวจสอบที่องค์การอาหารและยาเมื่อปีก่อนหน้านี้ แต่กลับถูกปฏิเสธโดยองค์การอาหารและยาในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทยา Boehringer ล้มเหลวในการพิสูจน์ว่ายาตัวนี้สามารถเพิ่มระดับความต้องการทางเพศของเพศหญิงได้จริง

บริษัทยาดังกล่าว อ้างว่า "มันมีความยุ่งยากซับซ้อนในการขึ้นทะเบียนยา แต่พวกเขายังคงเชื่อว่ายา Flibanserin จะสามารถช่วยผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน หรือ premenopausal woman ที่มีปัญหาเรื่องความต้องการทางเพศลดลงได้ แต่อาจจะต้องทำการวิจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมก่อน"

ผู้คิดค้นยาได้ค้นหาและวิจัยยาสำหรับช่วยเรื่องความรู้สึกทางเพศของเพศหญิงมาเป็นเวลานานหลายปี มีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับว่าอะไรกันแน่ที่เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้หญิงมีความต้องการทางเพศ บริษัทยา Pfizer คิดค้นยาไวอากร้าเป็นผลสำเร็จในปี 1998 และได้ทำการคิดค้นยาแบบเดียวกันสำหรับผู้หญิงในปี 2004 นอกจากนี้ยังมีบริษัทยาอีกสองบริษัทที่กำลังทดลองผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของฮอร์โมน testosterone และมีความพยายามที่จะให้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสำหรับการใช้รักษาอาการดังกล่าวนี้ ซึ่งรู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า "Female sexual dysfunction" หรืออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศของเพศหญิงนั่นเอง

บริษัทยา Boehringer ไม่มีรายงานที่จะพิสูจน์ได้ว่า ยาตัวนี้เป็นตัวที่ทำให้ระดับความต้องการทางเพศของเพศหญิงเพิ่มขึ้นได้จริง ถึงแม้ว่าจากการศึกษาจะยืนยันได้ว่ามีการเพิ่มจำนวนครั้งของการมีเพศสัมพันธ์แบบสุขสม (Sexually Satisfying Events : SSEs) เกิดขึ้นใน self-report แต่ในการศึกษาดังกล่าวไม่มีในเรื่องของการถึงจุดสุดยอดในเพศหญิง หรือจุด orgasm แต่มีการศึกษาว่าในคนที่ไม่ได้รับยาอะไรเลยจะมีเพศสัมพันธ์แบบสุขสมอยู่ที่ 2.7 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกจะอยู่ที่ 3.7 ครั้งต่อเดือน และคนที่ได้รับยา Flibanserin ทุกวันจะมีเพศสัมพันธ์แบบสุขสมอยู่ที่ 4.5 ครั้งต่อเดือน

ผลข้างเคียงของยาตัวนี้ คือ อาการมึนหัว คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์และนักบำบัด Leonore Tiefer ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ผู้ซึ่งต่อต้านการคิดค้นยาตัวนี้ ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า "ความล้มเหลวในการวิจัยยา Flibanserin เปรียบเสมือนชัยชนะของ F.D.A (องค์การอาหารและยา) และสาธารณชน ยาเลียนแบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมาในช่วง 10 ปีนี้ ที่เรียกว่า "Pink Viagra" หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร้องขอข้อมูลที่มากขึ้นในด้านความปลอดภัยและประสิทธิผลของยาไปยังบริษัทยาดังกล่าว และได้รับการตอบกลับมาว่า พวกเขาขาดอาสาสมัครที่จะมาทำงานวิจัย ซึ่งสิ่งนี้เป็นการยืนยันได้ว่า บริษัทยา Boehringer Ingelheim ต้องทำการศึกษาและวิจัยให้มากขึ้น"

แถลงการณ์นี้เป็นชัยชนะของ Roy Moynihan นักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรเลียด้วย ผู้ซึ่งเขียนหนังสือชื่อ Sex, Lies and Pharmaceuticals – ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ บริษัทยาได้มีการวางแผนอย่างไรในการทำกำไรจากผู้หญิงที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ


Reference : http://prescriptions.blogs.nytimes.com/2010/10/08/boehringer-stops-work-on-a-female-viagra/?ref=health

Thursday, September 30, 2010

ยืนยัน!!!การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ สามารถลดอาการหวัดได้

อาการเจ็บคอ, คันคอ หรือมีเสมหะในลำคอ เป็นอาการอย่างหนึ่งของหวัด และดูเหมือนว่า น้ำเกลือ จะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน ดังนี้
1.ช่วยละลายและขับเสมหะข้นเหนียว ที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในคอได้
2.ช่วยลดอาการเจ็บคอลงได้
3.ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น สิ่งที่ก่อการแพ้ (allergen), เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราได้
จากการทดลองในอาสาสมัคร 400 คน ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Preventive Medicine ในปี 2005 และติดตามผลเป็นเวลา 60 วัน โดยให้อาสาสมัครกลั้วคอด้วยน้ำเกลือจำนวน 3 ครั้งต่อวัน พบว่าเกือบ 40 เปอร์เซนต์ของอาสาสมัครทั้งหมด สามารถลดการเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

วิธีการทำนำ้เกลือที่ได้ผลดีที่สุด คือ ละลายเกลือครึ่งช้อนชากับน้ำอุ่นเต็มแก้ว นำมากลั้วคอ 2-3 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง เพิ่มเติมสำหรับคนที่ต้องการรักษาอาการไอ และเจ็บคอ ให้ผสมน้ำอุ่นกับน้ำมะนาวและน้ำผึ้งดื่มในช่วงที่มีอาการก็จะช่วยทำให้อาการหวัดต่าง ๆ หายได้เร็วยิ่งขึ้น

Reference : http://www.nytimes.com/2010/09/28/health/28real.html?_r=1&ref=health